Last updated: 19 Jul 2019 |
เราถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับ Id ซึ่งทำงานในจิตไร้สำนึก Id เรียกร้องให้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานตามสัญชาติญาณ ตามหลักแห่งความพึงพอใจ (Pleasure principle) เราสามารถเปรียบเทียบ Id กับทารกแรกเกิดที่ร้องเมื่อหิว หรือต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม โดยเรียกร้องการตอบสนองในทันทีหรือจนกว่าจะได้รับการตอบสนอง โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของสถานการณ์ หรือหลักแห่งความเป็นจริง (Reality principle) ว่า พ่อแม่หรือผู้ดูแลสะดวกอยู่หรือไม่ เป็นเวลานอน เวลาทานข้าวของพ่อแม่หรือไม่
2. Ego
ที่อายุประมาณ 3 ขวบ เมื่อเด็กได้มีการปฏิสัมพันธ์กับโลกมากขึ้น องค์ประกอบของจิตที่เรียกว่า Ego ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยทำงานตามหลักแห่งความเป็นจริง มีการใช้เหตุผล เข้าใจว่าผู้อื่นก็มีความต้องการเช่นกัน การเรียกร้องมากเกินไปก็อาจเป็นผลเสียในระยะยาวได้ หน้าที่ของ Ego ก็คือการตอบสนองความต้องการของ Id ในขณะที่คำนึงถึงความเป็นจริงของสถานการณ์ Ego อยู่ตรงกลางระหว่าง Id กับ Superego เปรียบได้กับสนามรบระหว่าง Id กับ Superego
3. Superego
เมื่ออายุครบประมาณ 5 ขวบ องค์ประกอบของจิตที่เรียกว่า Superego ก็ได้พัฒนาขึ้นจากการเรียนรู้มาตรฐานและข้อจำกัดทางศีลธรรมจริยธรรมที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลสอนให้ Superego เชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Conscience) เช่น ใครแกล้งเพื่อนเป็นเด็กไม่ดี หรือการปฏิบัติที่สร้างการยอมรับ (Ego ideal) ซึ่งมักเป็นการเสริมแรงเชิงบวก เช่น ได้รับคำชมเพราะเป็นเด็กดี เป็นต้น
การพัฒนาของ Ego ในระดับจิตสำนึกสำคัญมาก บุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ดีจะมี Ego เป็นส่วนที่เข้มแข็งที่สุด ซึ่งสามารถสร้างสมดุลระหว่าง Id กับ Superego โดยตอบสนองความต้องการของ Id ในขณะที่ไม่กระทบต่อมาตรฐานของ Superego และคำนึงถึงหลักแห่งความเป็นจริงของสถานการณ์ ในทางตรงข้ามหาก Id เข้มแข็งที่สุด บุคคลก็จะตกเป็นทาสของแรงขับให้ตอบสนองความต้องการตามสัญชาติญาณ ในขณะที่เมื่อ Superego แข็งแกร่งที่สุด จะทำให้บุคคลกลายผู้คุมกฎทางศีลธรรมจริยธรรม ชอบตัดสินผู้อื่น ขาดความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต
สาขาวิชาการแพทย์และจิตวิทยาได้พัฒนาไปอย่างมากในปัจจุบัน และจิตวิทยาแนวปัจจุบันก็ไม่ได้ยอมรับแนวคิดของฟรอยด์ไปทั้งหมด ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ฟรอยด์มีอิทธิพลอย่างสูงและก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความรู้ไปในหลากหลายสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องมาจนถึงปัจจุบัน
ในโอกาสต่อไปจะได้นำเสนอการนำทฤษฎีของฟรอยด์ต่อยอดไปสู่ ‘Ego psychology’ โดยอันนา ฟรอยด์ นักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นบุตรีคนสุดท้องของฟรอยด์ ผู้ศึกษาพัฒนาการของอีโก้หรือจิตสำนึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่าง Id และ Superego ทำให้เกิดความทุกข์ ความกลัว ความเจ็บปวด หรือความรู้สึกผิดในระดับ Ego นำไปสู่พฤติกรรมการใช้กลไกในการป้องกันตัวแบบต่างๆ (Defense Mechanisms)
รายการอ้างอิง
Stangroom, J. (2018). Psychology: 50 Ideas in 500 words (Rev. ed.). London: Elwin Street Productions Limited.
Sigmund Freud. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Sigmund_Freud
Freud’s Structural and Topographical Models of Personality. Retrieved from http://allpsych.com/psychology101/ego/
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. สืบค้นจาก https://www.dek-d.com/board/view/1402616/
Psychodynamic Theories ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wingsswagger/3-thvsdi-thangkar-phyabal-sukhphaph-cit/3-1-thvsdi-cit-wikheraah-samphanthphaph-rahwang-bukhkhl-laea-cit-sangkhm
จิตวิทยาสำหรับครู. สืบค้นจาก http://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_1697.html
By historicair - Structural-Iceberg.png by Jordangordanier, Public Domain, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=1467156
โดยทีมงาน Six Facets Press
11 Jun 2020
21 Jul 2019
16 Feb 2019